วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปเนื้อหาบทที่1

เทคโนโลยีสารสนเทศ
    เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เครื่องมือหรือวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวม ประมวลผล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ
                                                      
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
 ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของเรามากขึ้น เราสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ได้ดังต่อไปนี้
การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
   เป็นการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ เพื่อใช้ในการประมวลผล การรวบรวมข้อมูลจะใช้อุปกรณ์ที่รับข้อมูล
การประมวลผล
   ข้อมูลที่รวบรวมจากอุปกรณ์รับข้อมูลและจากสื่อเก็บข้อมูลต่างๆ จะถูกนำมาประมวลผลตามโปรแกรมหรือคำสั่งที่กำหนด
การแสดงผล
   เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปยังอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผล
การสื่อสารและเครือข่าย
   เป็นการส่งข้อมูลและสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารทำงานได้หลากหลายมากขึ้น
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
   ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 6 ส่วน
1. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
2. ซอฟต์แวร์ ( Software )
3. ข้อมูล ( Data )
4. การสื่อสารและเครือข่าย ( Telecommunication )
5. กระบวนการทำงาน ( Procedure )
6. บุคลากร ( People )
การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน
    การประยุกต์ใช้งานในองค์การอย่างแพร่หลายด้วยคุณสมบัติและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ต่างๆ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันดังนี้
การทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
    ปัจจุบันการทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย บริษัทและธุรกิจประเภทต่างๆ ได้มีการเสนอขายสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย
การให้บริการและธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
    รัฐบาลมีนโยบายที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริการประชาชนในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดการบริหารงานที่เป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันหน่วยงานจำนวนมากได้ให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต
การเรียนการสอน
    องค์การทางการศึกษาได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอน โดยเรียนผ่านทางคอมพิวเตอร์ หรือซีเอไอ ( CAI ) และ E-Learning
การอ่านหนังสือดิทัล
    การค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุด ซึ่งในปัจจุบันห้องสมุดจำนวนมากได้มีการเปลี่ยนข้อมูลจากเอกสารให้สามารถจัดเก็บอยู่ในรูปแบบดิจิทัล
การค้นตำแหน่ง
    ระบบ Global Prositioning Systems (GPSs) เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบโดยใช้ดาวเทียม ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบิน และเริ่มพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
คอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิง
    คอมพิวเตอร์นอกจากจะนำมาใช้ในงานด้านต่างๆแล้ว ยังสามารถนำมาใช้สร้างความบันเทิงได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง ร้องเพลงคาราโอเกะ หรือแม้แต่การเล่นเกม

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปเนื้อหาบทที่ 5

  อินเตอร์เน็ต
       อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายการสื่อสารไร้พรมแดนที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว การใช้อินเตอร์เน็ตเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน การทำธุรกิจต่างๆจะมีการนำอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้เพื่อการให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารโดยทั่วไปจะใช้เว็บเบราว์เซอร์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังมีบริการอื่นๆอีก เช่น FTP และการสนทนาออนไลน์ เป็นต้น 
  ความหมายและที่มาของอินเตอร์เน็ต
       อินเตอร์เน็ต (Internet) หมายถึง กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
       อินเตอร์เน็ตเริ่มต้นขึ้นจากโครงการอาร์พาเน็ต (ARPANet) ของสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2512 (ค.ศ.
 1969) โดยการเขื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์รธหว่างสถาบัน 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ลอสแอนเจลิส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ซานตา บาร์บารา มหาวิทยาลัยยูทาห์และสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จากสถาบันทั้ง 4 แห่งนี้ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัยและใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน
       ในปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1990) มูลนิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (National Science Foundation หรือNSF) ได้ให้เงินทุนสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFnet ต่อมมาในปีพ.ศ. 2533 (ค.ศ.1990 ) อาร์พาเน็ตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นโรงข่ายหลักของระบบได้ อาร์พาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFnet และเครือข่ายอื่นๆแทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่จนกระทั่งในปัจจุบัน โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต
       สำหรับประเทศไทยได้ใช้อินเตอร์เน็ตในลักษณะการใช้บริการไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ โดยในปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ได้ติดต่อขอใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังมหาลัยเมลเบิร์น โดยความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียตามโครงการ IDP ซึ่งการเชื่อมโญงในขณะนั้นจะใช้สายโทรศัพท์ ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้ามากและไม่ถาวร
       ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่าย UUNET ของยูยุเน็ตเทคโนโลยี จำกัด ซึ่งตั้งที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และในปีเดียวกันนี้ สถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยอัสสัมขัญ ได้ขอเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยเน็ต ซึ่งในปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 สถาบัน คือสำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สรุปเนื้อหาบทที่ 4

การประมวลผลข้อมูล
   ข้อมูลและสารสนเทศมีความสำคัญต่อการนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ  การจัดเก็บข้อมูลจะเป็นลักษณะดิจิทัล การแทนข้อมูลจะใช้เลขฐานสอง รหัสแทนข้อมูลที่ใช้ เช่น แอสกี เอบซิดิคและยูนิโค้ด
ข้อมูลและสารสนเทศ
    ข้อมูล ( Data ) หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ อาจอยู่ในรูปแบบของตัวเลข ตัวอักษรสัญลักษณ์ รูปภาพ หรือเสียงก็ได้
    สารสนเทศ ( Information ) หมายถึงสิ่งที่ได้จาการประมวลผลข้อมูล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจและการคาดการณ์ในอนาคต
การจัดการข้อมูลในคอมพิวเตอร์
   ข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่เป็นตัวเลขตัวอักษรสัญลักษณ์พิเศษหรืออื่นๆ ข้อมูลที่จัดเก็บจะมีลักษณะเป็นสัญญาณดิจิทัล ( สัญญาณไฟฟ้า) ซึ่งลักษณะการแทนข้อมูลต่างๆจะให้รหัสของเลขฐานสอง ประกอบด้วยเลข 2 ตัวคือ 0 และ 1 ( 0 แทนสัญญาณปิด และ 1 แทนสัญญาณเปิด )
รหัสแทนข้อมูล
    รหัสที่ใช้แสดงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ได้แก่ รหัสแอสกี ( ASCII ) และรหัสเอบซีดิค ( EBCDIC ) รหัส ASCII ย่อมาจาก American Standard Code for Informatiom Interchange เป็นรหัสแทนข้อมูลที่ใช้แทนข้อมู,มากที่สุด แอสกีจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและมินิคอมพิวเตอร์ ส่วนรหัส EBCDIC ย่อมาจาก Extended Binary Coded Decimal Interchang Code นิยมใช้กับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
หน่วยของข้อมูล
   หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถจัดเรียงเป็นลำดับชั้นจากเล็กไปใหญ่ดังนี้
- บิต ( Bit )  เลขฐานสองหนึ่งหลักซึ่งมีค่าเป็น 0 หรือ 1
- ตัวอักษร (Character) กลุ่มของบิตสามารถแทนค่าตัวอักษรได้ ในชุดอักขระแอสกี 1 ไบต์ (8 บิต) แทนตัวอักษร 1 ตัว
- เขตข้อมูลหรือฟิลด์ (Field) เขตข้อมูลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวอักษรที่แทนข้อเท็จจริง
- ระเบียน (Record) โครงสร้างข้อมูลที่แทนตัววัตถุชิ้นหนึ่ง
- แฟ้มข้อมูล (File) ตารางที่เป็นกลุ่มของระเบียนที่มีโครงสร้างเดียวกัน
- ฐานข้อมูล (Database) กลุ่มของตารางและความสัมพันธ์
ลักษณะการประมวลผลข้อมูลมี 2 ประเภท
คือการประมวลผลแบบกลุ่ม และการประมวลผลแบบทันที

 การประมวลผลแบบกลุ่ม ( Batch Processing) ข้อมูลจะถูกสะสมไว้ระหว่างช่วงเวลาที่กำหนดและเมื่อถึงกำหนดจะถูกรวมมาประมวลผลกันครั้งเดียว                                                                     
การประมวลผลแบบทันที (Real-Time Processig) เป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นพร้อมข้อมูล

 

สรุปเนื้อหาบทที่ 3

ซอฟต์แวร์ ( Software )
   ซอฟต์แวร์ เป็นโปรแกรมชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software ) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )

ซอฟต์แวร์ระบบ
   เป็นโปรแกรมหรือคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย และอุปกรณ์อื่นๆ ซอฟต์แวร์ระบบจำแนกออกเป็น 2 ประเภท  คือ ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมอรรถประโยชน์
ระบบปฏิบัติการ
   เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของกิจกรรมต่างๆ ระหว่างโปรแกรมประยุกต์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และผู้ใช้ทำงานกับโปรแกรมประยุกต์

โปรแกรมอรรถประโยชน์
   เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมและอุปกรณ์ต่างๆทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและเสถียรภาพของคอมพิวเตอร์
ซอฟแวร์ประยุกต์
   เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้
   ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่นิยมใช้สำหรับงานทั่วไป สามารถแบ่งตามประเภทของงานดังนี้
โปรแกรมประมวลคำ ( word processor)
   เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ ใช้ในการพิมพ์เอกสารให้อยู่ในรูปแบบของราบงาน ซึ่งรวมถึงกระบวนการเขียน แก้ไข จัดรูปแบบ และพิมพ์ การประมวลคำอยู่ในการทำงานยุคแรกๆของคอมพิวเตอร์สำนักงาน
โปรแกรมด้านการคำนวณ ( Spreadsheet )
   มีลักษณะเป็นกระดาษที่ประกอบไปด้วยช่องตาราง หรือที่เรียกว่าเซลล์ เรียงตามแถวและคอลัมน์สามารถพิมพ์ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ตัวเลข และสูตรการคำนวณต่างๆได้
โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล ( Presentation )
    เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถสร้างเอกสารในรูปแบบแผ่นสไลด์ได้ เหมาะสำหรับการนำเสนองานหลายรูปแบบ
โปรแกรมการจัดการด้านฐานข้อมูล ( Database )
    เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างฐานข้อมูล เพื่อนำไปจัดเก็บให้สามารถจัดการข้อมูลได้ และการค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไขซึ่งทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
โปรแกมด้านงานพิมพ์
    เป็นโปรแกรมสำหรับช่วยผลิตงานสิ่งพิมพ์ต่างๆหลายรูปแบบ  เช่น แผ่นพับ ใบปลิว บัตรเชิญ จดหมายข่าว นามบัตร
โปรแกรมกราฟิก
    เป็ปรแกรมที่ช่วยสร้างงานและออกแบบงานกราฟิกต่างๆ เช่น การวาดภาพ ตกแต่งภาพ




วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สรุปบทที่ 2

ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
เป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ส่วน ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือซีพียู (CPU) หน่วยความจำ (Memory) อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices)  และอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Storage Devices)
 เมื่อกล่าวถึงฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์(Computer Hardware) โดยทั่วไปจะหมายถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกและอุปกรณ์อื่นๆที่ต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โมเด็ม เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ และลำโพง เป็นต้น
 อุปกรณ์รับข้อมูล
       อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) คือ ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล โปรแกรมและคำสั่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์ กล้องดิจิตอล สแกนเนอร์ และไมโคโฟน เป็นต้น
       แป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่ประกอบด้วยแป้นกดเพื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ จะใช้แป้นพิมพ์ที่มีแป้นกด 101 และ 105 แป้น ส่วนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ต จะใช้แป้นพิมพ์ที่มีจำนวนแป้นกดน้อยกว่า นอกจากนี้ยังมีการใช้แป้นพิมพ์แบบไร้สาย
       เมาส์ เป็นอุปกรณ์ควบคุมการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ เมาส์มีตั้งแต่ 1 ถึง 5 ปุ่ม ปัจจุบันมีการใช้เมาส์ทั้งแบบมีลูกกลิ้งกลมด้านล่าง เมาส์แบบใช้แสงอินฟราเรด และเมาส์แบบไร้สาย เมาส์มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์ที่อยู่บนจอภาพ
 หน่วยประมวลผลกลาง
       หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียู เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุมซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกส่วน และหน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ และเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ ซีพียูนี้บางครั้งเรียกว่า โปรเซสเซอร์และสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล จะเรียกว่า ชิปไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งปัจจุบันโปรเซสเซอร์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย  ได้แก่ Pentium,Celeron และ AMD  เป็นต้น
 หน่วยความจำหลัก
        หน่วยความจำหลัก คือ ชิปหรือวงจรอิเล็กทรอที่ใช้บันทึกโปรแกรมและข้อมูล หน่วยความจำหลักจะบรรจุอยู่บนแผงวงจรหลัก หรือที่เรียกว่า Main Board
        หน่วยความจำแรม
        Random Access Memory หรือ RAM เป็นอุปกรณ์หรือแผนวงจรที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หไวยความจำแรม บางครั้งเรียกว่า หน่วยความจำชั่วคราวเนื่องจากโปรแกรมและข้อมูลจะถูกลบหายไปเมื่อปิดเครื่อง ดังนั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่อยู่ในแรม จะต้องบันทึกข้อมูลเหล่านั้นใส่ไว้ในความจำสำรองก่อนที่จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง
        หน่วยความจำรอม
        เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศและคำสั่งเริ่มต้นของระบบคุณสมบัติเด่น คือข้อมูลและคำสั่งจะไม่ถูกลบหายไปถึงแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าแล้วก็ตาม
        หน่วยความจำซีมอส