วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปเนื้อหาบทที่1

เทคโนโลยีสารสนเทศ
    เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เครื่องมือหรือวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวม ประมวลผล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ
                                                      
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
 ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของเรามากขึ้น เราสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ได้ดังต่อไปนี้
การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
   เป็นการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ เพื่อใช้ในการประมวลผล การรวบรวมข้อมูลจะใช้อุปกรณ์ที่รับข้อมูล
การประมวลผล
   ข้อมูลที่รวบรวมจากอุปกรณ์รับข้อมูลและจากสื่อเก็บข้อมูลต่างๆ จะถูกนำมาประมวลผลตามโปรแกรมหรือคำสั่งที่กำหนด
การแสดงผล
   เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปยังอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผล
การสื่อสารและเครือข่าย
   เป็นการส่งข้อมูลและสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารทำงานได้หลากหลายมากขึ้น
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
   ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 6 ส่วน
1. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
2. ซอฟต์แวร์ ( Software )
3. ข้อมูล ( Data )
4. การสื่อสารและเครือข่าย ( Telecommunication )
5. กระบวนการทำงาน ( Procedure )
6. บุคลากร ( People )
การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน
    การประยุกต์ใช้งานในองค์การอย่างแพร่หลายด้วยคุณสมบัติและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ต่างๆ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันดังนี้
การทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
    ปัจจุบันการทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย บริษัทและธุรกิจประเภทต่างๆ ได้มีการเสนอขายสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย
การให้บริการและธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
    รัฐบาลมีนโยบายที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริการประชาชนในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดการบริหารงานที่เป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันหน่วยงานจำนวนมากได้ให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต
การเรียนการสอน
    องค์การทางการศึกษาได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอน โดยเรียนผ่านทางคอมพิวเตอร์ หรือซีเอไอ ( CAI ) และ E-Learning
การอ่านหนังสือดิทัล
    การค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุด ซึ่งในปัจจุบันห้องสมุดจำนวนมากได้มีการเปลี่ยนข้อมูลจากเอกสารให้สามารถจัดเก็บอยู่ในรูปแบบดิจิทัล
การค้นตำแหน่ง
    ระบบ Global Prositioning Systems (GPSs) เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบโดยใช้ดาวเทียม ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบิน และเริ่มพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
คอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิง
    คอมพิวเตอร์นอกจากจะนำมาใช้ในงานด้านต่างๆแล้ว ยังสามารถนำมาใช้สร้างความบันเทิงได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง ร้องเพลงคาราโอเกะ หรือแม้แต่การเล่นเกม

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปเนื้อหาบทที่ 5

  อินเตอร์เน็ต
       อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายการสื่อสารไร้พรมแดนที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว การใช้อินเตอร์เน็ตเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน การทำธุรกิจต่างๆจะมีการนำอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้เพื่อการให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารโดยทั่วไปจะใช้เว็บเบราว์เซอร์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังมีบริการอื่นๆอีก เช่น FTP และการสนทนาออนไลน์ เป็นต้น 
  ความหมายและที่มาของอินเตอร์เน็ต
       อินเตอร์เน็ต (Internet) หมายถึง กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
       อินเตอร์เน็ตเริ่มต้นขึ้นจากโครงการอาร์พาเน็ต (ARPANet) ของสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2512 (ค.ศ.
 1969) โดยการเขื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์รธหว่างสถาบัน 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ลอสแอนเจลิส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ซานตา บาร์บารา มหาวิทยาลัยยูทาห์และสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จากสถาบันทั้ง 4 แห่งนี้ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัยและใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน
       ในปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1990) มูลนิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (National Science Foundation หรือNSF) ได้ให้เงินทุนสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFnet ต่อมมาในปีพ.ศ. 2533 (ค.ศ.1990 ) อาร์พาเน็ตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นโรงข่ายหลักของระบบได้ อาร์พาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFnet และเครือข่ายอื่นๆแทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่จนกระทั่งในปัจจุบัน โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต
       สำหรับประเทศไทยได้ใช้อินเตอร์เน็ตในลักษณะการใช้บริการไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ โดยในปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ได้ติดต่อขอใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังมหาลัยเมลเบิร์น โดยความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียตามโครงการ IDP ซึ่งการเชื่อมโญงในขณะนั้นจะใช้สายโทรศัพท์ ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้ามากและไม่ถาวร
       ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่าย UUNET ของยูยุเน็ตเทคโนโลยี จำกัด ซึ่งตั้งที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และในปีเดียวกันนี้ สถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยอัสสัมขัญ ได้ขอเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยเน็ต ซึ่งในปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 สถาบัน คือสำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ